วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวส 1/2ใบงานที่ 4


ระบบสารสนเทศในองค์กร
บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร
องค์การ ตามความหมายทางเทคนิค หมายถึง โครงสร้างทางสังคมอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคงโดยรับเอาทรัพยากรจากสิ่ง แวดล้อมมาผ่านกระบวนการเพื่อสร้างหรือผลิตผลลัพธ์คำจำกัดความด้านเทคนิคนี้ จะเน้นองค์ประกอบขององค์การ 3 ส่วนคือ

1. ปัจจัยหลักด้านการผลิต ได้แก่ เงินทุนและแรงงาน
2. การบวนการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนสิ่งที่นำเข้าให้เป็นผลิตภัณฑ์
3. ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการ


ผลกระทบของระบบสารสนเทศต่อองค์การ       
ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การดังนี้       
1. ลดระดับขั้นของการจัดการ       
2. มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน       
3. ลดขั้นตอนการดำเนินงาน       
4. เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ       
5. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่


องค์การดิจิทัลและองค์การแบบเครือข่าย 

เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตสนับสนุนการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และเกิดขึ้นขององค์การแบบ เครือข่ายช่วยให้จัดการแพร่กระจายข่าวสารไปยังบุคคลภายในและภายนอกได้ทันที องค์การสามารถใช้สารสนเทศนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนทางธุรกิจภายในและภายนอก องค์การได้เทคโนโลยีในการประสานและการเชื่อมโยงสามารถนำมาใช้ในการปรับ เปลี่ยนโครงสร้างขยายขอบเขตการทำงานและควบคุมการปฏิบัติงานรวมทั้งการนำเสนอ สินค้าและบริการซึ่ง หากมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานเกือบทุกส่งนขององค์การและเป็นองค์ ประกอบหลักในการดำเนินธุรกิจรวมถึงการบริหารจัดการจะทำให้องค์การเข้าสู่ ลักษณะขององค์การดิจิทัล


องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)       

เป็นรูปแบบขององค์การแบบใหม่ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์การที่เชื่อมโยงกัน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทักษะลดต้นทุนสร้างและกระจายสินค้าและ บริการโดยไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ตั้งขององค์การลักษณะขององค์กร เสมือนจริงมีดังนี้      
1. มีขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน  : เนื่องจากอาจกระจายอยู่ต่างสถานที่กันทำให้ยากต่อการนกำหนดขอบเขตที่แน่ชัดขององค์การ      
2. ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม   
3. มีความเป็นเลิศ : องค์การอิสระแต่ละองค์การจะนำความสามารถหลักหรือความเป็นเลิศมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการตลาด      
4. มีความไว้วางใจ      
5. มีโอกาสทางตลาด : องค์การอิสระต่างๆ อาจรวมกันเป็นองค์การเสมือนจริงในลักษณะถาวรหรือชั่วคราวเนื่องจากเห็นว่ามี โอกาสทางการตลาดและสลายตัวเมื่อโครงการจบ             
ระดับของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ      
1. ผู้ปฏิบัติงาน (Worker) เป็นบุคลากรที่ดำเนินงานด้านการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรฝ่าย ต่างๆ เป็นผู้ทำกิจกรรมประจำวันตลอดจนจัดทำฐานข้อมูลและรายงานขององค์การ      
2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า  หัวหน้างาน(Supervisors)  ผู้บริหารระดับนี้จะทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการดำเนินงานประจำวันของบุคลากร ระดับปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ      
3. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เป็นผู้ที่กำกับการบริหารงานของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ รวมทั้งวางแผนยุทธวิธีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมายนอกจาก นี้ยังต้องทำหน้าที่ประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อรับนโยบาย  แล้วนำมาวางแผนการปฏิบัติงาน      
4. ผู้บริหารระดับสูง (Senior Manager) หรือเรียกทั่วไปว่า  Executive Managers เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ  เป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planing)  ในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การตลอดจนดูแลองค์การในภาพรวม
 


ประเภทของระบบสารสนเทศ (Types of Information Systems)      
เมื่อกล่าว ถึงระบบสารสนเทศ  ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้หรือที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศอิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems  หรือ CBIS) ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้หลายวิธี ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้      
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ : โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตาม หน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ      
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน : จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก      
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน : จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอด คล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ     


โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems) แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้      
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็น ระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้าระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบ รวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File) หรือฐานข้อมูล(Database) และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ(Routine)ของ องค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ     โดยปกติ พนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผล ธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้  เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems หรือ CIS  เช่น ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ                          
1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียวการออกแบบลักษณะการประมวลผลแบบกลุ่ม ก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของงาน


ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่ม

1.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ ระบบการประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า
Online Transaction Processing หรือ OLTP  เช่น  การจองตั๋วเครื่องบิน


ตัวอย่างการประมวลผลแบบข้อมูลแบบทันที


2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)เป็น ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ที่ได้จากTPSเพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ใน การวางแผนควบคุมกำกับดูแลสั่งการและประกอบการตัดสินใจโดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้             
2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี             
2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวมโดยปกติจะแสดงผลในรูปของ ตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ             
2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติมีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา             
2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น

3.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็น ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆมาใช้ในการตัดสินใจและจะช่วยสนับ สนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพลักษณะสำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS   ปัจจุบันได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐาน ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ  เรียกว่า  Online Analytical Processing หรือ  OLAP  สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse)  ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)



โดย ทั่วไป  การตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้บริหาร ดังนั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของกลุ่มเรียกระบบนี้ว่าระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS) GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นระดมความคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการ ตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่มและปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละ สถานที่กันได้ด้วยนอกจาก GDSS แล้วยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆอีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS)  ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง




4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็น ระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหาศึกษาแนวโน้มและการวางแผน กลยุทธ์ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆจึง เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูงและรวดเร็วต่อความต้องการใช้งานได้ ง่ายEISสามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำ เสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงานตารางและกราฟเพื่อการสรุป สารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา




5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) ปัญญา ประดิษฐ์เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบ การทำงานของมนุษย์  AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing),ศาสตร์ ด้านหุ่นยนต์(Robotics),ระบบการมองเห็น(Vision Systerms),ระบบการเรียนรู้(Learning Systems),เครือข่ายเส้นประสาท(Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems),ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หรือระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วย ในการหาข้อสรุปและคำแนะนำให้กับผู้ใช้
ES จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่
       (1) ส่วนติดต่อกับผู้ใช้หรือบทสนทนา เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้
       (2) ฐานความรู้ (Knowledge-based) เป็นกลุ่มของข้อเท็จจริงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ หรือความเชี่ยวชาญในระบบนั้นๆ
       (3) กลไกอนุมาน หรือ Inference Engine เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้สำหรับค้นหาสารสนเทศจากฐานความรู้ เพื่อให้คำตอบ การทำนายและคำแนะนำตามแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญกระทำ





การทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)




6. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารแบ่งได้เป็น 5 ประเภท  คือ  ระบบจัดการเอกสาร  ระบบการจัดการข่าวสาร  ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล  ระบบการประมวลภาพ  และระบบการจัดการสำนักงาน

ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ
       
ความ สัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ ในองค์การโดยปกติแล้ว TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่านอกจากนี้ในระบบ สารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆกันเอง เช่น ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิตและระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่ง สินค้า เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น