วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวสพ1/2 บทที่ 10 (2)

แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 10 (2)
คำสั่ง จงอธิบายคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ 

1. คุกกี้แอ็ดเน็ทเวิร์ค คืออะไร

  ตอบ  คุกกี้แอ็ดเน็ทเวิร์คจัดเป็นโปรแกรมสายลับชนิดหนึ่ง เรียกว่า โปรแกรม สายลับหรือ สปายแวร์ (spyware)



2. อาญชญากรรมหมายถึงอะไร

ตอบ   อาชญากรรม คือ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา


3. คุกกี้คัตเตอร์ คืออะไร

ตอบ   
 คือโปรแกรมที่ตรวจดูกิจกรรมต่างๆ ที่เราทำผ่านเว็บ

4. ไฟร์วอลล์ หมายถึงอะไร

ตอบ    คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้

5. สนุ้ปแวร์ หมายถึงอะไร

ตอบ   การแอบดูการทำงานของลูกจ้าง การแอบดูไฟล์หรืออีเมล์


6. เวิร์ม หมายถึงอะไร

ตอบ   เวิร์ม (Worm) มีลักษณะและพฤติกรรมคัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย และเหมือนจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจมากที่สุด เวิร์มยังแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังต่อไปนี้
Email worm เป็นเวิร์มที่อาศัยอีเมล์เป็นพาหะเช่น Mass-mailing worm เป็นเวิร์มที่สามารถค้นหารายชื่ออีเมล์ในเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อแล้วก็ส่งตัวเองไปยังที่อยู่อีเมล์เหล่านั้น
File-Sharing Networks Worm เป็นเวิร์มที่คัดลอกตัวเองไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ขึ้นต้นหรือประกอบด้วยคำว่า sha และแชร์โฟลเดอร์ของโปรแกรมประเภท Peer to Peer (P2P) เช่นเวิร์มที่มีชื่อว่า KaZaa Worm เป็นต้น
Internet Worm หรือ Network Worm เป็นเวิร์มที่โจมตีช่องโหว่ของโปรแกรมและระบบปฎิบัติการต่างๆเช่น Blaster worm และ Sasser worm ที่ได้เป็นที่รู้จักกันดี
IRC Worm เป็นเวิร์มที่ส่งตัวเองจากเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อไปหาคนที่อยู่ในห้องสนทนา (Chat room) เดียวกัน
Instant Messaging Worm เป็นเวิร์มที่ส่งตัวเองจากเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อไปหาคนที่อยู่ใน Contact list ผ่านทางโปรแกรม Instant Messaging หรือ IM เช่นโปรแกรม MSN และ ICQ เป็นต้น

7. แฮกเกอร์ หมายถึงอะไร

ตอบ   แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก 

8. แครกเกอร์ หมายถึงอะไร

ตอบ    มีความหมายอย่างเดียวกันกับ Hacker แต่ต่างกันตรงที่ "วัตถุประสงค์ในการกระทำ" จุดมุ่งหมายของ Cracker คือ บุกรุกระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นโดยผิดกฎหมายเพื่อทำลายหรือเอาข้อมูลไปใช้ส่วนตัว แต่โดยทั่วไปแล้วมักเข้าใจกันว่าเป็นพวกเดียวกันนั่นเอง คือมองว่ามีเจตนาไม่ดีทั้งคู่
แต่ในปัจจุบันคำว่า Cracker กับ Hacker มักเรียกรวมทั้งสองคำว่าเป็น “Hacker” จึงเกิดคำเรียกใหม่ว่า Black hat Hacker กับ White hat Hacker ซึ่ง Black hat Hacker จะใช้แทน Cracker และ White hat Hacker จะใช้แทน Hacker

9. โปรแกรมตรวจสอบไวรัส มีโปรแกรมอะไรบ้าง ตอบมาอย่างน้อย 5 โปรแกรม

ตอบ   1. AVG Antivirus Free Edition 2011: เป็นโปรแกรมที่สามารถป้องกันไวรัสและสปายแวร์ ตัวใหม่ๆ ได้ เช่น ไวรัสที่มากับ E-mail เพราะทุกวันนี้ไวรัสและสปายแวร์จะมีการอัพเดทความสามารถในการทำลายอยู่ตลอด ดังนั้นเราก็ควรอัพเดทโปรแกรมที่มีอยู่และอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ ของโปรแกรมอยู่ตลอดนะจ๊ะ ถ้ายังไม่มีโปรแกรมสแกนไวรัส ลองใช้โปรแกรมที่ติดอันดับต้นๆ ของการดาวน์โหลดอย่าง AVG Antivirus Free Edition 2011 มาลองใช้กันได้นะจ๊ะ


2. Avira AntiVir Personal Free Edition: สามารถกำจัดไวรัสได้มากว่า 300,000 ชนิด มีการอัพเดท ข้อมูลไวรัสในเครื่องของเราแบบอัตโนมัติ ทำให้โปรแกรมไม่ล้าหลัง และตามไวรัสตัวใหม่ๆ ได้ทัน โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบเล่นอินเทอร์เน็ต และชอบดาวน์โหลด ทั้งหลาย แต่บางทีเวลาที่เราสแกน โปรแกรมก็ชอบลบข้อมูลบางอย่างออกไปด้วย และไม่ค่อยซับพอร์ตโปรแกรมอื่นเท่าไหร่ค่ะ
3. Avast Free Antivirus: สามารถป้องกันไวรัส Spyware หรือ Malware ต่าง ๆ ที่แฝงตัวมากับเว็บไซต์ไม่ให้เข้ามาทำร้ายข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ การสแกนสามารถสแกนได้ทั้งไฟล์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสแกนขณะที่บู๊ตเครื่องก็ได้ค่ะ โดยโปรแกรมจะตรวจจับไวรัสและกำจัดไวรัสให้ทันทีที่พบ และในปัจจุบันโปรแกรมสามารถรองรับภาษาได้มากกว่า 19 ภาษา เป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก กระทัดรัด สามารถใช้งานได้ง่าย ที่สำคัญไม่หนักเครื่องด้วยนะจ๊ะ

4. PC Tools AntiVirus Free: โปรแกรมนี้ก็จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ให้ติดไวรัสได้ง่ายๆ ซึ่งเหมือนกับโปรแกรมสแกนไวรัสตัวอื่น ๆ สำหรับโปรแกรมนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี แต่ขนาดของไฟล์อาจจะค่อนข้างใหญ่ และอาจทำให้หนักเครื่องอยู่บ้างนะค่ะ

5. Microsoft Security Essentials: สำหรับโปรแกรมนี้ เป็นโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสหรือสปายแวร์ได้เกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าไวรัสจะเปลี่ยนสถานะในการเข้าถึงข้อมูลของเราเป็นอย่างไรก็ตาม โปรแกรมก็จะตรวจพบไวรัสได้อยู่ดี ถ้าใครยังไม่มีโปรแกรมสแกนไวรัสลองโหลดโปรแกรมตัวนี้ไปใช้ดูนะคะ เพราะเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Microsoft เองซึ่งน่าจะช่วยให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการ Windows อุ่นใจขึ้นได้อีกเยอะเลยค่ะ 
ปล. อย่าลืมว่าในการติดตั้งโปรแกรมนี้  Windows ของคุณจะต้องเป็น Windows ที่ถูกลิขสิทธิ์ด้วยนะค่ะ


10. การโจมตีเพื่อทำให้ปฏิเสธการบริการ หมายถึงอะไร

ตอบ   ในวิชาการคอมพิวเตอร์ การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (อังกฤษ: denial-of-service (DoS) attack) เป็นความพยายามทำให้เครื่องหรือทรัพยากรเครือข่ายสำหรับผู้ใช้เป้าหมายใช้บริการไม่ได้ เช่น ขัดขวางหรือชะลอบริการของแม่ข่ายที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตอย่างชั่วคราวหรือถาวร ส่วน การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (อังกฤษ: distributed denial-of-service (DDoS) attack) คือการโจมตีดังกล่าวซึ่งแหล่งต้นทางเป็นเลขที่อยู่ไอพีมากกว่าหนึ่งหมายเลข และมักจะเป็นพันหมายเลข
อาชญากรผู้โจมตีมักมุ่งเป้าไปยังเว็บไซต์หรือบริการซึ่งตั้งอยู่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเข้าชมสูงอย่างเช่น ธนาคาร เกตเวย์ชำระบัตรเครดิต โดยมีแรงจูงใจเบื้องหลังเป็นการแก้แค้น การแบล็กเมล หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวสพ1/2 บทที่ 10 (1)

แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 10 (1)

คำสั่ง จงอธิบายคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์

1. อภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูล และภาวะส่วนตัว
ภาวะส่วนตัว เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้งานที่ควรตระหนัก ได้แก่
ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
สิทธิส่วนบุคคล
อินเทอร์เน็ต และเว็บ
ภาวะส่วนตัวเป็นประเด็นหลักของจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์

สำหรับประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (ร่างกฎหมายโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - เนคเทค)

2. อธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ
เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
คอมพิวเตอร์ การปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์จากอาชญากรคอมพิวเตอร์ ภัยธรรมชาติ และภัยคุกคามอื่น ๆ รวมไปถึงป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
อาชญากรคอมพิวเตอร์ (computer criminal)
พนักงานหรือลูกจ้าง
บุคคลภายนอก
แฮกเกอร์ (hacker) และ
     แครกเกอร์ (cracker)
องค์กรด้านอาชญากรรม
ผู้ก่อการร้าย

3. มาตรการการป้องกันความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง การเข้าถึงรหัสคืออะไร บริษัท หรือบุคคลจะใช้ได้อย่างไร
การเสริมสร้างความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีนั้น สิ่งที่สำคัญคือองค์กรจะต้องทำการป้องกันเครือข่าย และระบบจากภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากภายนอก และภายในองค์กรเอง ซึ่งองค์การจะต้องมีการดำเนิน
การเข้ารหัสลับ
การจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึง
การระวังภัยที่อาจเกิดขึ้น

การสำรองข้อมูล

4. การยศาสตร์คืออะไร การใช้คอมพิวเตอร์มีผลต่อสุขภาพด้านจิตใจ และร่างกายอย่างไร มีขั้นตอนที่จะลดความเครียดจากเทคโนโลยีได้อย่างไร
    การยศาสตร์ (ergonomics) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพในการทำงานเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สุขภาพทางด้านร่างกาย
เมื่อยสายตาและปวดหัว
ปวดหลังหรือปวดคอ
การบาดเจ็บตึงเครียดจากการทำซ้ำๆ
  (repetitive strain injury : RSI) 
สุขภาพด้านจิตใจ
เสียงรบกวน
การติดตามแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic monitoring)
ความเครียดจากเทคโนโลยี (techno stress)
ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์
ความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องปรับตัวเข้าหาคอมพิวเตอร์

5. ในฐานะผู้ใช้อคอมพิวเตอร์ คุณจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร
               1.  ใช้อย่างฉลาด  การจะใช้  ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี  ผลเสีย  ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วน
                2.  ประหยัด  (เก็บ  รักษา  สงวน)  ของที่หายาก  หมายถึง  ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก  ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป  บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด
                3. ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง)  กล่าวคือ  ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า  หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น

นันทนา ทิพโสด ปวสพ 1/2 บทที่ 9/3

 ฝ่ายบุคคล

 จุดแข็ง

 ด้านการบริหารจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล
              มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล
มีการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักคุณธรรม
 มีการปรับโครงสร้างอัตรากำลังของหน่วยงานกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับภารกิจในปัจจุบันและอนาคต
              มีการจัดปรับปรุงระบบงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
             ด้านการบริหารจัดการภายใน
              สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามแผนและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้
              การบริหารจัดการมีความโปร่งใส
              โดยเฉลี่ยบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน และมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
              มีระบบฐานข้อมูลและการจัดการความรู้สนับสนุน
จุดอ่อน

 ด้านการบริหารจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล
              การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการบริหารงานบุคคลยังไม่ทั่วถึง และล่าช้า ขาดการสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจ
ที่ถูกต้อง
             มีกฎหมายเฉพาะของตนเองแต่ไม่สมบูรณ์ต้องนำกฎหมายการบริหารงานบุคคลภาครัฐมาใช้โดยอนุโลม
             ยากในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ การนำมาใช้ การเชื่อมโยงตัวบทกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ออกใช้บังคับของ
ภาครัฐให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายโครงสร้างการบริหาร สภาพปัญหาของกรุงเทพมหานคร
              มีสายงานจำนวนมากและหลากหลายถึง 162 สายงาน
              ยุ่งยากซับซ้อนในการบริหาร การจัดการ การวางกฎเกณฑ์ ระเบีบบ ข้อบังคับให้เหมาะสมและสอดคล้อง
             ข้าราชการจำนวนมากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
             ด้านการบริหารจัดการภายใน
              บุคลากรยังต้องการเพิ่มขวัญกำลังใจให้มากขึ้น
              อุปกรณ์ เครื่องมือ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ
                                                        
                                                       ฝ่ายบัญชี

จุดแข็ง  คือ การบัญชีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการวางระบบการควบคุมภายใน (Internal Control system) ได้ ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากมีระบบเอกสารที่เหมาะสม จึงทำให้สามารถกระจายอำนาจในการตัดสินใจลงไปยังนักบริหารในแต่ละระดับได้ การติดตามวัดประสิทธิภาพขององค์การทำได้อย่างชัดเจน เมื่อมีปัญหาทางการเงินก็สามารถรู้ได้ทันท่วงทีเพราะระบบบัญชีเป็นเสมือนระบบสัญญาณเตือนภัยที่ดี ทำให้ผู้บริหารทราบว่าการแก้ไขพัฒนาองค์การควรจะทำที่จุดไหน สามารถวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์การได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้การวิเคราะห์การลงทุนในโครงการต่างๆ มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น สามารถวัดประเมินผลการทำงานของบุคลากรในแต่ละระดับได้ นำไปสู่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น สามารถกระจายรายได้ให้กับบุคลากรในแต่ละระดับได้อย่างเป็นธรรมจึงเกิดขวัญและกำลังใจที่ดี นอกจากนั้นข้อมูลตัวเลขและหลักฐานเชิงประจักษ์ยังเป็นเครื่องรับประกันความโปร่งใสให้กับนักบริหารได้เป็นอย่างดี กล่าวได้ว่า การนำองค์ความรู้ทางการบัญชีมาใช้จะเกิดประโยชน์อย่างมากมายทั้งกับองค์การในภาพรวม กับบุคลากรในแต่ละระดับ และกับตัวนักบริหารเองด้วย

จุดอ่อน คือ ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำเอากรอบแนวคิดทางการบัญชีไปประยุกต์ใช้ยังมีอยู่น้อย นักบริหารจึงมักไม่เห็นคุณค่าของข้อมูลข่าวสารทางการบัญชี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะทฤษฎีทางการบัญชียังขาดการคำนึงถึงปัจจัยด้านการสื่อสาร การนำเสนอองค์ความรู้จึงมักอยู่ในกรอบของความเป็นนักบัญชีมากเกินไป ทำให้บุคลากรทั่วไปยากที่จะทำความเข้าใจได้ อีกทั้งระบบบัญชีขององค์การต่างๆ ยังไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ ตลอดจนขาดการนำเอาสหวิทยาการเข้ามาบูรณาการประกอบ องค์ความรู้ทางการบัญชีจึงยังไม่ได้รับความสนใจจากบุคลากรส่วนใหญ่ตลอดจนนักบริหาร และอีกจุดอ่อนที่สำคัญคือ สมมติฐานทางการบัญชียังมีข้อจำกัดอยู่ ซึ่งในบางครั้งอาจขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในภาคปฏิบัติ ทำให้นักบริหารเกิดความสับสนและไม่มั่นใจที่จะนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ กล่าวโดยสรุปได้ว่า จุดอ่อนทางการบัญชีเป็นจุดอ่อนที่เกิดจากตัวองค์ความรู้เองที่ขาดการพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ และไม่สามารถทำให้บุคลากรอื่นๆ ในองค์การเข้าใจและยอมรับได้

                                                       ฝ่ายตลาด



จุดแข็ง เจ้าของธุรกิจมีความตั้งใจจริง ,มีแนวคิดทันสมัย,มีต้นทุน,บริการรวดเร็ว,บุคลากรพร้อม,ตู้ล็อกเกอร์สั่งทำเฉพาะ,ใช้เทคโนโลยีตอบรับอัตโนมัติ ,เปิด 24 ชั่วโมง
จุดอ่อน ระยะเวลานานขึ้นล็อกเกอร์อาจชำรุดได้ ,มีระบบเฟรนไชส์ การบริการอาจแตกต่าง

ฝ่ายไอที

จุดแข็ง มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและทางบริหารธุรกิจควบคู่กันไป
สามารถนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการบริหารธุรกิจไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานในอนาคตได้
สามารถสร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและงานด้านต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งการเรียนและการทำงาน
มีประสบการณ์การฝึกปฎิบัิตงานทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเชิงธุรกิจควบคู่กัน
สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ได้ดี โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น

จุดอ่อน ขาดทักษะบางประเภทในทางวิชาการเชิงลึก
ทักษะในด้านการเขียนโปรแกรมยังอ่อนประสบการณ์
ทักษะในด้านการใช้ความคิดยังช้า
ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน


ฝ่ายผลิต


จุดแข็งขององค์กร เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร
นั้นเอง ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรน ามาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรด ารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
จุดอ่อนขององค์กร เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจาก
มุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวสพ 1/2 บทที่ 9/2


แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 9 (2)

คำสั่ง ให้นักศึกษาสรุปบทที่ 9 ทั้ง 3 ตอนและวางแผนกลยุทธในการบริหาร การพัฒนาองค์กร และงบประมาณฝ่ายต่างๆ ตามนโยบาย "การพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน" โดยเพิ่มการสร้าง Mapping ให้ชัดเจนตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ฝ่ายบุคคล

การเตรียมบุคลากรให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสร้างและพัฒนา ตลอดจนการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อจัดสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรที่ต้องจัดเตรียมควรเป็นทั้งระดับผู้บริหาร นักเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาชีพเฉพาะ และพนักงานปฏิบัติการ เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในขีดความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการจัดฝึกอบรมหรือบรรยายพิเศษ รวมทั้งการสรรหาบุคลากรทางสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตของหน่วยงาน

2. ฝ่ายบัญชี

หน้าที่หลักของการบัญชี
1       ตรวจสอบรายรับรายจ่ายต่างๆ ของบริษัท
2       บันทึกบัญชีของสมุดรายวันชั้นต้นตรวจสอบ Statement
3      จัดทำรายการทางการเงินประจำเดือน (งบทดลองและรายละเอียดลูกหนี้)
4      ใบเรียกเก็บเงิน
5      บัญชีค่าใช้จ่าย

3. ฝ่ายการตลาด



หน้าที่หลักของการตลาด
1.             จัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด
2             แจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค
3              การบริการให้ความสะดวก  เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง  และถาวร  การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ
4             สื่อสารข้อมูลทางการตลาด  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต  เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค  บริโภค  เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง  เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง    
5             การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย    
6             การทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ
7      
4. ฝ่ายไอที

หน้าที่ความรับผิดชอบ
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบงาน 4 ลักษณะดังนี้
  1. วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยี ทำหน้าที่วางแผนและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในห้องสมุด โดยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับการพัฒนางาน
  2.  งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การพัฒนาหรือบริหารงานห้องสมุด
  3. งานฐานข้อมูล ดูแลรับผิดชอบฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ฉบับเต็ม ฐานข้อมูลปัญหาพิเศษระปริญญาตรี และฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการสารสนเทศ รวมทั้งการพัฒนาเว็บไซต์สำนักหอสมุด
  4. งานเว็บไซต์ ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
  5. งานบริการดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้หน่วยงานต่างๆทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติบริการการติดตั้งรวมถึงดูแลระบบห้องสมุดอัตโนมัติกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการที่ร้องขอ
  6. งานฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากร
    ในระดับต่าง ๆ 
5. ฝ่ายผลิต
หน้าที่หลักของการผลิต
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
                2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
                3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
                5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ