วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวส 1-2 บทที่5 1

แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 5 (1)


คำสั่ง จงตอบคำถามแต่ละข้อต่อไปนี้ให้สมบูรณ์ (ถ้ามีตัวอย่างให้ยกตัวอย่างประกอบ)

1. จงบอกถึงประโยชน์และความสำคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาพอสังเขป
ตอบ การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของระบบเครือข่าย
การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้จากแหล่งเดียวกันไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่องให้ซ้ำซ้อนกันนอกจากนั้นยังสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศจากฐานข้อมูลกลางผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเองเพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก(Client)สามารถเข้ามาใช้โปรแกรมข้อมูลร่วมกันได้จากเครื่องแม่(Server)หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรมไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเองการใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้
สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระยะไกลได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางด้านการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น  
การใช้โปรแกรมติดต่อสื่อสารระยะไกล
สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจมีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายInternetเพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่น การสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น  
การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายในงานธุรกิจ 
ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย5-10เครื่องมาใช้งานแต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก็สามารถใช้อุปกรณ์หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ2-3เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้วเพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
ความเชื่อถือได้ของระบบงานนับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ไม่มีประสิทธิภาพดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งานทำระบบงานมีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลเพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้อย่างทันที

ความสำคัญและประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1. ช่วยการทำงานแบบกลุ่มร่วมงาน (Workgroup) เพื่อสนับสนุนการทำงานให้สำเร็จสมบูรณ์รวดเร็ว เช่น งานทำหนังสือ ต้องมีแผนกเรียงพิมพ์ แผนกวาดภาพ แผนกครวจพิสูจน์อักษร แผนกจัดรูปเล่มการใช้คอมพิวเตอร์แบบกลุ่มร่วมงานจะทำให้ทุกๆแผนกประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว และงานมีคุณภาพดีการทำงานแบบกลุ่มร่วมงาน (Workgroup)
2. การใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกัน หมายความว่า ในระบบเครือข่ายเราสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่มาแบ่งปันกันใช้งานหรือใช้งานร่วมกันได้
โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนอุปกรณ์โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้อุปกรณ์นั้นๆได้โดยตรงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน
3. การเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง หมายถึง การที่เรามีข้อมูลอยู่1ชุดอาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานบริษัท เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นข้อมูลส่วนกลางของแผนกอื่นๆก็เก็บไว้ส่วนกลางชุดเดียวแล้วเครื่องในระบบเครือข่ายสามารถเอาข้อมูลมาเก็บไว้ในส่วนกลางได้หรือเราสามารถดึงจากส่วนกลางมาใช้ได้เราไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้หลายๆ ที่ จะได้ไม่สิ้นเปลืองหน่วยเก็บข้อมูลการเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง
4. การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เป็นการส่งข้อความผ่านเครือข่ายโดยไม่ต้องใช้กระดาษข้อความที่ส่งไปจะผ่านตามสายเคเบิลหรือสื่อส่งข้อมูลอื่นไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับโดยไม่หล่นหายหรือขาดตกบกพร่อง มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย
การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา http://group8-401-2.blogspot.com/

2. จงบอกถึงข้อเปรียบเทียบและข้อแตกต่างของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

ตอบ ระบบเครือข่าย (Network) แต่ละแบบไม่ว่าจะเป็น ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) หรือระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (Local Area Networkหรือ LAN) หรือระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ Man) มีความแตกต่างกันอยู่หลายประกาศ ซึ่งพอที่จะสามารถสรุปได้ ดังนี้

     1. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางระหว่างจุดที่ต่อกันจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 10 กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร

     2. โดยปกติทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายระดับเมือง (MAN) จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่การทำงานโดยปกติของระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะมีความเร็วระหว่าง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีแบบเส้นใยนำแสง (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อจุดแต่ละจุดแล้ว จะทำให้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที (Mbps)

     3. เนื่องจากระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) มีระยะทางการใช้งานไม่กว้างนักทำให้มีอัตราของความผิดพลาดหรือข้อผิดพลาดต่างๆ น้อยกว่าระบบเครือข่ายระดับเมือง (MAN) 

     4. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียวแต่ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) จะมีขอบข่ายการใช้งานอยู่ทั่วโลก ดังนั้น การใช้งานจะขึ้นอยู่กับองศ์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย

     โดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่งที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถติดต่อและใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะต่างกับระบบเครือข่ายแบบอื่นๆ ตรงที่จำกัดการติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์อยู่ในบริเวณแคบๆ เท่านั้น โดยทั่วไปจะมีระยะการใช้งานไม่เกิน 2 กิโลเมตร เช่นใช้ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูงถึง 1-10 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และมีข้อผิดพลาดน้อย

ที่มา http://www.ipesp.ac.th/learning/071001/chapter5/UN5_3.ht

3. จงอธิบายโทโพโลยีต่างๆมาพอสังเขป
ตอบ  โทโพโลยี หมายถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การเดินสายสัญญาณรวมถึงการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะกล่าวถึงใน 2 ลักษณะ คือ โทโพโลยีทางตรรกะ (logical topology) และโทโพโลยีทางกายภาพ (physical topology)
       โทโพโลยีทางกายภาพ หมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครือข่ายจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือสายเคเบิล ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงทางวงจรอิเล็กทรอนิกส์
       ส่วนโทโพโลยีทางตรรกะ จะแสดงถึงการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของเครือข่ายเป็นในลักษณะของแผนภาพ ซึ่งเป็นการมองที่วิธีการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โทโพโลยีแบบหนึ่งอาจจะรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบอาจจะเหมาะสมกับการรับส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อย ๆ ได้ดี การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการรับส่งข้อมูลในระดับนี้จะใช้สัญญาณไฟฟ้า โดยสัญญาณนี้จะวิ่งบนสื่อกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน แต่สัญญาณอาจจะใช้เส้นทางแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร
       การติดตั้งเครือข่ายโดยส่วนใหญ่มักจะใช้โทโพโลยีทางกายภาพ และทางตรรกะที่สอดคล้องกัน แต่ก็มีบางองค์กรที่ใช้แตกต่างกันไป เช่น ใช้โทโพโลยีทางตรรกะแบบวงแหวน แต่ทางกายภาพแบบดาว เป็นต้น

ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_topology1.htm

4. สายส่งข้อมูล (Cable) มีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ  สายส่งข้อมูล หรือ Cable เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในระบบ Network ที่ใช้เป็นทางเดินของข้อมูล
ระหว่าง Workstation กับ Server มีลักษณะคล้ายสายไฟหรือสายโทรศัพท์แล้วแต่ชนิด ของ Cable แต่การเลือกใช้
Cable นั้นควรคำนึงถึงความปลอดภัย (Safety) และคลื่นรบกวน
 (Interference) เป็นสำคัญ สายส่งข้อมูลที่ดี
ไม่ควรเป็น ตัวนำไฟ เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น และสามารถ
 ป้องกันคลื่นรบกวนจากอำนาจแม่เหล็ก และคลื่นวิทยุได้
ลักษณะของสายส่งข้อมูล แบ่งได้ดังนี้
 
3.1 สาย Coaxial Cable หรือ สาย Coax นอกจากใช้ในระบบ Network แล้วยังสามารถ นำไปใช้กับระบบ
TV และ Mainframe ได้ด้วย สาย Coax นั้นเป็นสายที่ประกอบไปด้วยแกนของ
 ทองแดงหุ้มด้วยฉนวน และสายดิน
(ลักษณะเป็นฝอย) หุ้มด้วยฉนวนบางอีกชั้นหนึ่ง ในปัจจุบันได้
เปลี่ยนจากลวดทองแดงมาเป็นลวดเงินที่พันกันหลาย ๆ
เส้นแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรบกวน
 ที่เรียกว่า "Cross Talk" ซึ่งเป็นการรบกวนที่เกิดจากสายสัญญาณข้างเคียง
ดังตัวอย่าง
 
ลักษณะของสายโคแอกเชียล
                Coaxial Cable ที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม
ซึ่งใช้ส่งข้อมูสํญญาณแอนะล็อก สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวน
 ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณ
รบกวนอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ สายแบบนี้มีช่วงความถี่
 ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz
จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูง
 
  
3.2 สาย Twisted Pair Cable เป็นสายส่งสัญญาณที่ประกอบไปด้วยสายทองแดง 2 เส้น ขึ้นไป บิดกัน เป็นเกลียว
(Twist) แล้วหุ้มด้วยฉนวน โดยแบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบมี Shield และ
 แบบไม่มี Shield จะมีฉนวนในการป้องกัน
สัญญาณรบกวน หรือระบบป้องกันสัญญาณรบกวน
 โดยเรียกสาย Cable ทั้งสองนี้ว่า "Shielded Twisted Pair
(STP)" และ "Unshielded
 Twisted Pair (UTP)" ตามลำดับ 
       สายShielded Twisted Pair (STP) หรือที่เรียกว่า "สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน" เป็นสายคู่
บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น
 แม่เหล็กไฟฟ้า
ลักษณะของสายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)
   
     
3.3 สาย Fiber Optic Cable เป็นสายใยแก้วนำแสงชนิดใหม่ ประกอบด้วยท่อใยแก้ว ที่มีขนาดเล็กและบางมาก
เรียกว่า "CORE" ล้อมรอบด้วยชั้นของใยแก้วที่เรียกว่า
 "CLADDING" อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงถึง 565 เมกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่า ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีมาก ขนาดของสายเล็กมากและเบามากแต่มีราคาแพง 
ลักษณะของสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable)
 
        นอกจากการสื่อสารข้อมูลตามสายรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ยังมีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Transmission)
ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลผ่านบรรยากาศโดยไม่ต้องอาศัยสายส่ง
 สัญญาณใด ๆ เช่น ระบบไมโครเวฟ ดาวเทียมสื่อสาร
โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ซึ่งเป็น
 สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่แตกต่างกัน ทำให้การสื่อสาร ทำได้รวดเร็ว
และครอบคลุม
 ทุกมุมโลก 
         -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ
5. จงวิเคราะห์ว่าห้อง LAB ที่ วิทยาลัยใช้โทโพโลยีใดอยู่ เหมาะสมหรือไม่
ตอบ โทโพโลยีทางกายภาพ เหมาะสม

1 ความคิดเห็น: