1. ฝ่ายบัญชี
หน้าที่หลักของการบัญชี
1. ตรวจสอบรายรับรายจ่ายต่างๆ ของบริษัท
2. บันทึกบัญชีของสมุดรายวันชั้นต้นตรวจสอบ Statement
3. จัดทำรายการทางการเงินประจำเดือน (งบทดลองและรายละเอียดลูกหนี้)
4. ใบเรียกเก็บเงิน
5. บัญชีค่าใช้จ่าย
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด
1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
· ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
· ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
· ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
· มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
· มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
ระบบสารสนเทศสำหรับฝ่ายการบัญชี
ระบบงาน
|
คำอธิบาย
|
ระดับการบริหารองค์กร
|
บัญชีรายรับ
|
ตรวจสอบบัญชีรายรับขององค์กร
|
ระดับผู้ปฏิบัติงาน
|
การวิเคราะห์ Portfolio
|
ออกแบบ Portfolio สาหรับการลงทุน
|
ระดับผู้ชานาญการ
|
การงบประมาณ
|
จัดเตรียมแผนงานงบประมาณระยะสั้น
|
ระดับผู้บริหาร
|
การวางแผนการลงทุน
|
จัดเตรียมแผนงานงบประมาณ
|
ระดับผู้กาหนดกลยุทธ์
|
2. ฝ่ายการตลาด
หน้าที่หลักของการตลาด
1. จัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการ คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในสินค้าและบริการ เพื่อให้เกิดความพอใจและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้ามากที่สุด
2. แจกจ่ายสินค้าและบริการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องมีการจัดส่งไปยังผู้บริโภค
3. การบริการให้ความสะดวก เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง และถาวร การตลาดจึงต้องให้การบริการและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจต่าง ๆ
4. สื่อสารข้อมูลทางการตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดได้แล้วจะต้องนำข้อมูลความต้องการสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ให้แก่ผู้ผลิต เพื่อผู้ผลิต จะได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้ผลิต จะมีฝ่ายการผลิตเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงสินค้า และฝ่ายประชาสัมพันธ์ภายในบริษัทจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สินค้าตัวใหม่ไปยังลูกค้าและผู้อุปโภค บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ทราบถึงสินค้าหรือบริการใหม่ ผู้ผลิตต้องทราบความเคลื่อนไหวทางการตลาดได้ถูกต้อง เพื่อเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการมาสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
5. การวิเคราะห์ตลาด การวิเคราะห์ตลาดเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของตลาด อันจะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา และการวิเคราะห์ตลาดยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพราะผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และคาดคะเนผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทำให้มีการเตรียมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย
6. การทำให้สินค้าต่างกัน เมื่อได้รับข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้ว หน้าที่ของตลาดก็จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการขึ้นใหม่ เพื่อสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อ
7. การตีราคาการตีราคาจะช่วยในการพิจารณาจุดคุ้มทุนว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ทางการตลาดนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ หรือสร้างความพอใจให้กับผู้ซื้อ-ขายหรือไม่หรือหากต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์ของสังคมก็ควรจะต้องมี การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์และการตลาดให้เหมาะสม
8. การแบ่งส่วนตลาด เป็นการทำให้ตลาดมีขนาดเล็กลง เพื่อสะดวกในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า เนื่องจากผู้ผลิตสามารถเจาะจงลูกค้าได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกสินค้าและบริการเฉพาะอย่างได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประหยัดทั้งการผลิตและบริโภคด้วย
3.
3. 3 ฝ่ายการผลิต
หน้าที่หลักของการผลิต
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า “การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2. ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
3. ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5. กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการผลิต
1. การใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยในการผลิตสินค้า ทำให้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากขึ้น ในเวลารวดเร็ว มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และลดต้นทุนการผลิต เพราะเทคโนโลยีช่วยลดแรงงานหรือกำลังคนและลดเวลาการผลิต แต่ได้ปริมาณสินค้าและบริการมาก
2. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการออกแบบสินค้า ช่วยให้มีการคิดค้นหรือประดิษฐ์รูปแบบของสินค้า ทำให้ได้สินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่ๆ หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อได้ตามความต้องการและพึงพอใจมากที่สุด
3. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการโฆษณาสินค้าและการให้บริการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการขายสินค้าและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดของสินค้าได้มากขึ้นหรือสามารถสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว
4. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ รวดเร็ว เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานเพื่อจัดเก็บเอกสารหรือค้นหาข้อมูล เป็นต้น
5. การใช้เทคโนโลยีช่วยในการขนส่ง เพื่อให้กระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตรวดเร็วขึ้น หรือขนส่งสินค้าและบริการไปถึงผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
4. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนด และเสนอแนะนโยบายใหม่ ๆ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีอยู่เกี่ยวกับงานด้านบุคลากรให้เกิดความเหมาะสมและนำมาปรับใช้ใน ก.ล.ต. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลแก่ฝ่ายงานต่าง ๆ ภายใน ก.ล.ต. ให้มีความพร้อมด้านบุคลากร และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาและติดตามเทคนิคการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพนักงานใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ใน ก.ล.ต. จัดโครงสร้างองค์กร และแผนอัตรากำลัง การสรรหา คัดเลือก และจัดวางบุคลากรให้เหมาะกับความรู้ความสามารถ การบริหารค่าตอบแทน และสวัสดิการที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี การสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ ศักยภาพ และเปิดรับการเรียนรู้และการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง การสร้างบุคลากรผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญของ ก.ล.ต. ในอนาคต พร้อมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรมีความสมดุลในการใช้ชีวิตและการทำงาน สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน ก.ล.ต. เสริมสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร และความผูกพันที่ดีของบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และสร้างสภาพแวดล้อมให้ ก.ล.ต.เป็นองค์กรที่น่าทำงาน
5. ฝ่ายวิจัย
เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า หัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศเพื่อให้สามารถยืนหยัดในเวทีนานาชาติ ในสภาพการแข่งขันไร้พรมแดนได้ คือความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นกลไกหลักในการสร้างองค์ความรู้ จึงถือได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในทุกๆ ด้าน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมาก จึงได้จัดตั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนาวิชาการขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านงานวิจัย งานบริการวิชาการ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลในการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต แก่นิสิต นักศึกษา และบุคลากรภาคเอกชน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้บริการงานวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาต่างๆ แก่อุตสาหกรรมการผลิต
ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ วิศวกร ช่างเทคนิคและบุคลากรที่ทำงาน
ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย
3. เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยให้แก่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และฝึกอบรมบุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน
5. เพื่อเพื่อให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านวิศวกรรมการผลิตที่ทันสมัย แก่อุตสาหกรรมการผลิตทั้ง
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
แผนกปฏิบัตการ
1. เพื่อให้บริการงานวิจัย การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาต่างๆ แก่อุตสาหกรรมการผลิต
ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
2. เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ วิศวกร ช่างเทคนิคและบุคลากรที่ทำงาน
ในอุตสาหกรรมการผลิตที่ทันสมัย
3. เพื่อให้ความช่วยเหลือและให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยให้แก่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน
4. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และฝึกอบรมบุคลากรทั้งหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน
5. เพื่อเพื่อให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านวิศวกรรมการผลิตที่ทันสมัย แก่อุตสาหกรรมการผลิตทั้ง
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
แผนกปฏิบัตการ
1. แผนกวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การบริการวิจัย การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในเชิงความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต และการสนับสนุนในเชิงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยเหล่านั้น
2. แผนกพัฒนาวิชาการ (Technical Education Development)
หน่วยงานนี้มุ่งหวังเพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ได้จากการทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยและพัฒนา งานวิเคราะห์และออกแบบ งานบริการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และงานสนับสนุนการเรียนการสอนและฝึกอบรม โดยจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้นี้ไปพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดและเผยแพร่ต่อไปสู่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้การบริการวิจัย การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในเชิงความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต และการสนับสนุนในเชิงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยเหล่านั้น
2. แผนกพัฒนาวิชาการ (Technical Education Development)
หน่วยงานนี้มุ่งหวังเพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ได้จากการทำงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยและพัฒนา งานวิเคราะห์และออกแบบ งานบริการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และงานสนับสนุนการเรียนการสอนและฝึกอบรม โดยจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้นี้ไปพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปถ่ายทอดและเผยแพร่ต่อไปสู่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้
ขอบข่ายการให้บริการ
1. บริการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัย โดยเฉพาะ
เทคโนโลยี CAD/CAM และเทคโนโลยีที่ใช้เครื่องจักร CNC
2. บริการผลิตขึ้นรูปชิ้นงาน ชิ้นงานวิจัน ด้วยเครื่องจักร อันได้แก่
- เครื่องกัดซีเอ็นซี (CNC Milling Machine)
- เครื่องกลึงซีเอ็นซี (CNC Turning Machine)
- เครื่องตัดโลหะแผ่นด้วยแสงเลเซอร์ (Lacer Cutting)
- เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์แบบพื้นฐาน
3. บริการฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีการผลิต
4. บริการวิจัยและสันบัสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
เทคโนโลยี CAD/CAM และเทคโนโลยีที่ใช้เครื่องจักร CNC
2. บริการผลิตขึ้นรูปชิ้นงาน ชิ้นงานวิจัน ด้วยเครื่องจักร อันได้แก่
- เครื่องกัดซีเอ็นซี (CNC Milling Machine)
- เครื่องกลึงซีเอ็นซี (CNC Turning Machine)
- เครื่องตัดโลหะแผ่นด้วยแสงเลเซอร์ (Lacer Cutting)
- เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์แบบพื้นฐาน
3. บริการฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีการผลิต
4. บริการวิจัยและสันบัสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
5
| ||||||||||||||||||||||||||
|
ตรวจแล้ว
ตอบลบ