วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

นันทนา ทิพโสด ปวสพ1/2 บทที่8

แบบทดสอบปลายเปิด บทที่ 8

คำสั่ง ให้นักศึกษาอธิบายและสรุปการนำระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามหัวข้อต่อไปนี้


1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS) หรือ (DPS)
ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้ รายการ (Transaction) คือ การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง จัดเป็นรายการทั้งสิ้น ระบบประมวลผลรายการนิยมใช้ในการประมวลผลบัญชี, การขาย, หรือประมวลผลข้อมูลสินค้าคงคลัง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เป็นที่ต้องการของระบบสารสนเทศอื่นๆในองค์กร


2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
(Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องแม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐาน
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS)

ระบบสนับสนุนผู้บริหาร [Executive support system (ESS)] มีลักษณะคล้ายกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) และ GDSSทั้งนี้เนื่องจาก DSS และ GDSS ใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เป็นปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) จะใช้เฉพาะกับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ส่วนสำคัญ คือ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมาจากฐานข้อมูลภายนอก และภายในมารวมกัน และผู้บริหารสามารถที่จะใช้ข้อมูล ในการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และแนวโน้ม กลุ่มของผู้บริหารในองค์การที่มีการใช้ ESS ได้แก่ ประธานและรองประธานฝ่ายต่าง ๆบทบาทผู้บริหารและการตัดสินใจ (Executive roles and decision making) การตัดสินใจของผู้บริหารโดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) การวางแผนยุทธวิธี (Tactical planning) และกิจการรมปัญหาเฉพาะหน้าที่ (Fire-fighting activity) ผู้บริหาร จำเป็นจะต้องมีการควบคุมเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย


5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ 
        เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย
·        ระบบจัดการเอกสาร
·        ระบบจัดการด้านข่าวสาร
·        ระบบประชุมทางไกล
·        ระบบสนับสนุนสำนักงาน
         ระบบสำนักงานอัตโนมัติ Office Automation Systems(OAS)           ระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง (Create) เก็บข้อมูล (Store) ปรับปรุงข้อมูล (Modify) แสดงภาพ (Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูด เขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิมผู้บริหารคอมพิวเตอร์
          ผู้บริหารคอมพิวเตอร์ อาจเป็นหัวหน้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์เครือข่าย ก็ได้ อาจเรียกว่า PC Manager LAN Manager  มีหน้าที่หลักในการดูแลระบบและเครื่องคอมพิวเตอร์ 
1. ควบคุมปริมาณเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย 
3. ความเป็นเอกภาพและความปลอดภัยของข้อมูล
4. การระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่นอกเหนือการทำงาน
6. ระบบการทำงานที่ใช้ความรู้เฉพาะด้าน (KWS)
ระบบการจัดการองค์ความรู้ KWS (Knowledge Work System) และระบบการจัดการสำนักงาน Office System ได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อผู้ปฏิบัติงานระดับที่เป็นงานเฉพาะด้าน (Knowledge worker) ขององค์กร ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบสำนักงานซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การทำงานของพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับข้อมูลประจำวัน (Clerk) ซึ่งอย่างที่ได้ทราบกันมาดีแล้วว่า knowledge worker คือคนที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งงานที่คนเหล่านี้ได้รับผิดชอบมีความสำคัญอย่างมากต่อการที่องค์กรจะสามารถสร้างข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในระบบนี้ knowledge worker จะออกแบบพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านของตนเอง ผ่านกระบวนการการจำลองรูปแบบและทดลองการทำงาน ผลที่ได้รับออกมาคือ ต้นแบบของความรู้พื้นฐานที่ค้นพบ หรืออาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของตารางการเปรียบเทียบ

1 ความคิดเห็น: